การออกแบบสถาปัตยกรรม คือ การแปลงความต้องการ ความชอบ ความคิด มาผนวกกับฟังก์ชั่นการใช้สอย งบประมาณ รวมไปจนถึงโครงสร้างอาคาร ให้ความต้องการของเจ้าของโครงการกลายเป็นจริง เป็นแบบก่อสร้างที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้อ้างอิงในการก่อสร้างได้ ซึ่งการออกแบบจะมีขั้นตอนดังนี้

1.Project Programming

            เป็นขั้นตอนการศึกษากำหนดรายละเอียดต่างๆในโครงการ โดยในขั้นตอนนี้ทางเจ้าของโครงการต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องสูงที่สุด เพราะต้องทำการบ้านร่วมกันกับผู้ออกแบบ ยิ่งให้รายละเอียดแก่ผู้ออกแบบมากเท่าใด ก็จะมีโอกาสที่ผู้ออกแบบจะสามารถตีโจทย์สิ่งที่เจ้าของโครงการต้องการได้ถูกต้องมากขึ้น โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการสนทนากันระหว่างผู้ออกแบบ กับเจ้าของโครงการ โดยจะมีรายละเอียดที่จำเป็นดังนี้

1.ขอบเขตงาน           เจ้าของโครงการต้องแจ้งให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้ออกแบบการออกแบบแค่ไหน และทำอะไรให้บ้าง
2.ฟังก์ชั่นการใช้สอย           ผู้ออกแบบมักจะมีคำถามประเภทที่ว่า อาคารนี้จะใช้ทำอะไรบ้าง ต้องการห้องอะไรเพิ่มเติมเป็นพิเศษหรือไม่ เป็นต้น
3.งบประมาณคร่าวๆ            ในส่วนนี้บางท่านอาจจะไม่สามารถคำนวณได้ ตรงนี้ผู้ออกแบบจะสามารถช่วยท่านได้ แต่เบื้องต้นท่านอาจจะต้องมีตัวเลขในใจมาก่อนคราวๆอาจจะเป็นตัวเลขกว้างๆเช่น 10-14ล้านเป็นต้น ส่วนจะสามารถทำได้หรือไม่ผู้ออกแบบจะมีหน้าที่บอกท่านเอง
4.ข้อจำกัดในการออกแบบ   หากมีข้อจำกัดพิเศษแตกต่างจากบริบทปกติ ควรแจ้งผู้ออกแบบตั้งแต่ในขั้นแรกๆ
5.ขนาดที่ตั้งโครงการ           ท่านต้องเตรียมคือโฉนดที่ดินที่ถ่ายเอกสารมาเท่ากับฉบับจริง หรือหากตกแต่งภายในอาจจะนำแบบก่อสร้างเดิมที่มีมาประกอบได้ และหลังจากคุยเบื้องต้นแล้ว ก่อนเริ่มงานผู้ออกแบบอาจจะเข้าไปวัดพื้นที่จริงอีกครั้ง
6.สไตล์ที่ชอบ                     เนื่องจากการคุยกันด้วยวาจาอาจจะมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันได้ แต่หากมีภาพประกอบจะทำให้สามารถเข้าใจตรงกันได้ง่ายกว่า จึงแนะนำให้ลองหารูปแนวทางที่ชอบไว้ก่อนนัดคุยกับนักออกแบบ เพราะท่านจะมีเวลาค่อยๆค้นหาแบบอาคารที่ท่านต้องการจริงๆ และถูกใจท่านมากที่สุด

          *นอกจากนี้ท่านสามารถบอกผู้ออกแบบทั้งแบบที่ชอบ และแบบที่ไม่ต้องการได้

2.Quotation for design fee

          หลังจากได้รับข้อมูล ทราบขอบเขตงานแล้ว ผู้ออกแบบจะประเมิน และส่งใบเสนอราค่าบริการให้กับเจ้าของโครงการ หากพิจารณาแล้วสามารถไปต่อได้ก็ว่าจ้างผู้ออกแบบ และทำสัญญาว่าจ้าง หากยังไม่สะดวกสามารถแจ้งผู้ออกแบบได้เลยในขั้นตอนนี้ โดยในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบยังจะต้องแจ้งขั้นตอนการทำงาน และประมาณการระยะเวลาทำงาน(Design Stage)ให้กับผู้ว่าจ้างทราบ

3.Schematic design

          เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับมาสังเคราะห์เพื่อนำมาใช้ออกแบบ โดยผู้ออกแบบจะทำการวางแนวทางความคิดในการออกแบบ(Preliminary Concept) เพื่อให้ท่านพิจารณาแบบร่างโดยมีข้อข้อต่างๆ เช่น แนวความคิดในการออกแบบ(Concept design) ,รูปแบบการออกแบบ(Style) ,การแบ่งพื้นที่ใช้สอย (Zoning) หรือความเป็นไปได้โครงการ(Feasibility Study) ซึ่งมักใช้ในโครงการที่มีขนาดใหญ่
          ซึ่งขั้นตอนนี้หากเปรียบเทียบกับการปั้นหุ่น ก็คล้ายกับการขึ้นรูปตัวหุ่น ขั้นตอนต่อไปคือการแกะสลักเข้าไปเรื่อยๆเพื่อให้ถูกใจเจ้าของโครงการมากที่สุด ดังนั้นการแก้ไขในขั้นตอนแรกๆจะใช้เวลาน้อยที่สุด ควรจะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน หากมีอะไรที่ต้องแก้ไขให้รีบแจ้งทางผู้ออกแบบ ไม่ควรปล่อยให้ไปขั้นตอนต่อไป ไม่เช่นนั้นนอกจากจะเสียเวลาแล้ว การก่อสร้างอาคารก็จะถูกเรื่อยออกไปอีก

4.Design Development

          ขั้นตอนนี้คือการพัฒนาแบบ โดยนำโครงของแบบขั้นต้นที่แล้วมาแกะสลักให้ถูกต้องตรงใจเจ้าของโครงการ ซึ่งจำนวนการแก้ไขแบบในขั้นตอนนี้จะขึ้นกับการตกลงร่วมกันกับผู้ออกแบบ แต่ยิ่งจำนวนมากครั้งก็ยิ่งใช้เวลามากขึ้น แต่โดยส่วนมากจะแก้ไขไม่มากนัก จะเป็นการแก้ไขรายละเอียดเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากก่อนจะถึงขั้นตอนนี้มักจะได้รับอนุมัติจากแบบขั้นต้นมาก่อนแล้ว โดยในขั้นตอนนี้จะประกอบไปด้วย ผังแสดงการใช้สอย(Layout plan) ,ภาพทัศนียภาพอาคาร (Perspective) ,วัสดุตกแต่งที่เลือกใช้(Material Selection) ,ระดับ และระยะต่างๆ(Level and Dimension) ,เพิ่มรายละเอียดต่างๆ (Detail design) รวมไปถึงการประมาณราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้น(Preliminary Budget)

5.Construction Drawing

            หลังจากการพัฒนาแบบเสร็จสิ้นจนพึงพอใจแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการเขียนแบบก่อสร้าง เพื่อนำไปอ้างอิงระยะ และระดับต่างๆรวมไปถึงวัสดุต่างๆ โดยจะแบ่งออกเป็น แบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบบวิศวกรรมงานระบบอาคาร ซึ่งก็จะครอบคลุมรายละเอียดทั้งหมด และจะรวมไปถึงการประมาณการค่าก่อสร้าง(BOQ)

          ขั้นตอนการทำงานข้างต้น เป็นขั้นตอนการทำงานทั่วไปที่สถาปนิกส่วนมากใช้กัน ในส่วนของรายละเอียดการออกแบบของแต่ละที่ อาจจะมีขั้นตอนอื่นๆใดๆเพิ่มเติม หรือลดลงบ้างขึ้นกับบริบทของแต่ละโครงการไป และไม่ได้หมายความว่าสถาปนิกทุกคนจะต้องทำตามขั้นตอนนี้ทุกขั้นตอน

Recommended Posts

No comment yet, add your voice below!


Add a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.