การหาสถาปนิกมาทำงานให้ท่านก็เปรียบดังหาคู่ชีวิต เพราะตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ จนอาคารเสร็จเรียบร้อยนั้น ใช้เวลาที่ยาวนานร่วมปี ถ้าได้คนที่ไม่ถูกใจ หรือไม่มีประสบการณ์เพียงพอ รับรองว่าท่านมีได้ปวดหัววุ่นวายแน่นอน วันนี้ Designical studio ของเสนอวิธีการเลือกสถาปนิกง่ายๆดังนี้
1.เลือกลักษณะหน่วยงานที่ท่านต้องการ
รูปแบบแรก คือ บริษัทรับสร้างบ้าน
มีแบบสำเร็จให้เลือก สามารถปรับแก้ได้บ้าง ส่วนใหญ่รูปแบบจะเรียบง่าย
แต่อาจจะไม่ถูกใจผู้ที่ต้องการแบบที่พิเศษเฉพาะบุคคล หรือต้องการอาคารตามที่ฝัน
รูปแบบสอง คือ สถาปนิกฟรีแลนซ์
ราคามักไม่แพง ส่วนใหญ่เป็นสถาปนิกใหม่ไฟแรง ประสบการณ์ต้องดูเป็นรายบุคคล
รูปแบบสาม คือ สถาปนิกรูปแบบบริษัท
ราคาสูงกว่า แต่มีความรับผิดชอบต่องานมากกว่า มีระบบในการทำงานชัดเจน
2.เลือกจากสไตล์ที่ถูกใจก่อน
ถึงแม้สถาปนิกหลายคนอาจจะบอกว่าสามารถออกแบบบ้านได้ทุกแนว ซึ่งตามหลักแล้วก็น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่ในความเป็นจริงนั้นแต่ละบริษัทมักจะมีความถนัดที่แตกต่างกัน ทางทีดีที่สุดให้ท่านตัดสินใจก่อนว่าตัวเองมีความชื่นชอบสไตล์ให้แน่ชัด จากนั้นให้หาบริษัทที่ทำงานออกมาในรูปแบบตรงกับที่ท่านกำลังสนใจ ดังนั้นง่ายที่สุดคือขอดู Portfolio ของบริษัทนั้นเพื่อนำมาพิจารณา หากยังไม่ถูกใจให้ค้นหาไปเรื่อยๆ ถ้าเจอที่ถูกใจอาจจะเก็บไว้ตัดสินใจซัก 2 – 3 บริษัทก็ได้
3.ประวัติการทำงาน
แน่นอนประสบการณ์การทำงานมีผลต่อคุณภาพงาน แต่ไม่จำเป็นต้องขนาดประสบการณ์20ปี แค่มากกว่า 3-4 ปี ก็ถือว่าสามารถทำงานได้ครอบคลุมแล้ว ดังนั้นจึงควรขอดูผลงานงานที่ผ่านมา สืบว่าทำงานมากี่ปีแล้ว หากเป็นสถาปนิกฟรีแลนซ์ก็ให้ดูว่าเคยทำที่บริษัทไหนมาบ้าง
4.อัตราค่าบริการ
ทุกบริษัทนั้นมีขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างกัน ประสบการณ์และฝีมือไม่เท่ากัน จึงมีค่าบริการไม่เท่ากัน แต่ถ้าบริษัทที่ที่มีชื่อเสียงใกล้เคียงกันราคาย่อมไม่แตกต่างกันมาก ให้ท่านเลือกที่ท่านถูกใจ และคุ้มค่า ความคุ้มค่าไม่ใช่ถูก หรือแพง แต่เหมาะสมกับราคาที่จ่าย
5.นัดพบ พูดคุย
นอกจากขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับprofileงานแล้ว ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ควรจะประเมินว่าเราจะรู้สึกดีที่จะทำงานร่วมกับคนๆนี้ในระยะยาวหรือไม่ เนื่องจากต้องอยู่ทำงานด้วยกันร่วมปี หากไม่รู้สึกสบาย หรือพูคุยความต้องการได้ทั้งหมดก็คงจะทำงานด้วยกันยากลำบาก
หลังจากที่ได้พบสถาปนิกแล้ว แนะนำให้เลือกคนที่ถูกใจ และสามารถทำงานให้ท่านได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
No comment yet, add your voice below!